หลังจาก ClubHouse หรือห้องสนทนาด้วยเสียงได้รับความนิยมสุดขีดเมื่อประมาณต้นปี 2021 ไม่นานจากนั้นทาง Twitter ก็ปล่อยฟีเจอร์ Twitter Spaces ตามมาติดๆ ฟีเจอร์ที่นี้มีความคล้ายคลึงกับ ClubHose แต่จะเป็นในเวอร์ชันที่แก้ไขจุดอ่อนที่คลับเฮาท์ออกไปเรียบร้อยแล้ว การใช้งานไม่ยาก ใครอยากลองใช้ดูบ้าง ทำตามได้จากขั้นตอนด้านล่างเลย
Twitter Spaces ห้องสนทนาด้วยเสียงคล้ายกับ ClubHouse เปิดให้บันทึกเสียงได้แล้ว ทำตามดังนี้
- กดเครื่องหมายเพิ่มโพสต์แล้วเลือก “พื้นที่สนทนา”
- สร้างพื้นที่สนทนาโดยการตั้งชื่อและกดบันทึกการสนทนาได้(ถ้าต้องการ) โดยพื้นที่สนทนานี้สามารถมีการพูดคุยได้จำนวนสูงสุด 13 คน ส่วนผู้ฟังนั้นใครจะฟังก็ได้แม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้ติดตามก็ตาม การเชิญผู้ฟังทำได้โดยการส่งลิงค์เชิญโดยตรงกับไปยัง DM หรือจะทวีตลิงค์หรือแชร์ลิงค์ไปที่อื่นก็ได้เช่นกัน สำหรับผู้ที่เข้าฟังไม่ได้จะมีเพียงบัญชีที่ถูกบล็อกเท่านั้น
- ตั้งเวลา เพื่อเลือกวันวันและเวลาในการถ่ายทอดสดตามต้องการ
- เมื่อพื้นที่สนทนาเริ่มต้น โฮสต์ผู้เจ้าของห้องสนทนาสามารถเพิ่มผู้ฟังรายอื่นมาเป็นโฮสต์ร่วมหรือผู้พูดร่วมกันได้โดยการแตะที่ไอคอนรูปคน หรือจะแตะรูปข้อมูลส่วนตัวของผู้ฟังรายนั้นในพื้นที่สนทนาก็ได้ ส่วนผู้ฟังหากมีคำถามกับโฮสต์ แตะที่ไอคอน “คำขอ” เพื่อขออนุญาตโฮสต์เปิดไมโครโฟนสำหรับสอบถาม
- กด “เริ่มต้นพื้นที่สนทนาของคุณ” และกดเปิด “การอนุญาตการเข้าถึงไมโครโฟน” เพื่อให้ผู้พูดสามารถพูดได้ เมื่อพูดแล้วจะมีคำบรรยายสดเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ แต่ผู้ฟังจะตั้งค่าให้คำบรรยายปรากฏหรือไม่ก็ได้
- โฮสต์เริ่มการสนทนาได้เลย
Twitter Spaces ต่างจาก ClubHouse อย่างไร?
ClubHouse และ Twitter Spaces แม้จะเป็นห้องสนทนาด้วยเสียงคล้ายๆกัน แต่คุณสมบัติการใช้งานบางอย่างนั้นแตกต่างกันอย่างมาก เช่น
- การเข้าใช้งาน หากจะเข้าใช้งาน ClubHouse จะต้องได้รับเชิญจากผู้ที่มีบัญชี ClubHouse เท่านั้น แต่ Spaces ใช้ได้ทุกคนที่มีบัญชี Twitter หากจะเข้าร่วมก็กดเข้าไปได้เลยไม่ต้องรอให้ได้รับคำเชิญ(ในกรณีที่เป็นพื้นที่สนทนาสาธรณะ)
- การแสดงความเห็น ใน Twitter Spaces สามารถส่งอิโมจิได้ แต่ ClubHouse ยังไม่มีฟังก์ชันนี้
- การบันทึกสนทนา ClubHouse ไม่มีมีฟังก์ชันบันทึกการสนทนา อัดเสียงไม่ได้ ข้อดีคือช่วยรักษาความเป็นส่วนตัว แต่ข้อเสียคือเมื่อการสนทนาจบไปแล้วไม่สามารถย้อนกลับมาฟังได้อีก แต่ Spaces บันทึกเสียงได้ จึงดาวน์โหลดมาเก็บไว้ฟังซ้ำได้เท่าที่ต้องการ แต่หากไม่ดาวน์โหลดเสียงสนทนานั้นจะอยู่ในแพลทฟอร์ม 30 วัน
- จำนวนผู้เข้าฟัง ClubHouse จำกัดจำนวนผู้เข้าฟัง ในขณะที่อีกแอปหนึ่งผู้เข้าฟังสามารถเข้าร่วมฟังได้ไม่จำกัดจำนวนคน
สำหรับใครที่ชอบพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้อื่น โดยเฉพาะในเรื่องที่ตัวเองสนใจ เช่น ภาพยนตร์ การแต่งหน้า ความงาม งานอดิเรกฯลฯ Twitter Spaces นับเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีเพราะมีโอกาสได้พบกับผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆสูง แต่ถ้าจะพูดคุยในประเด็นที่ค่อนข้างอ่อนไหวอาทิ การเมือง ชาติพันธุ์ ศาสนา แนะนำให้ไปที่ ClubHouse เพราะมีความเป็นส่วนตัวมากกว่านั่นเอง