ปวดประจำเดือนอย่างรุนแรง มีปัญหาเกี่ยวกับรังไข่หรือไม่?

ปวดประจำเดือนมีสาว ๆ ท่านใดที่มีรอบเดือนแล้วปวดท้องมาก ๆ ทุกเดือน ๆ ต้องดูสาระความรู้วันนี้ห้ามพลาดเรื่องสุขภาพใกล้ตัวเลยนะคะ เสี่ยงมีปัญหาเกี่ยวกับรังไข่ เกิดมะเร็งรังไข่ อาการเป็นยังไง แบ่งออกได้เป็นกี่ระยะ มีวิธีรักษาอย่างไร และจะป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งรังไข่นี้ได้ยังไงบ้างไปดูกัน

มะเร็งรังไข่ คืออะไรแล้วเกิดขึ้นได้ยังไง?

เยื่อบุโพรงมดลูกเป็นเยื่อที่อยู่ในมดลูก เวลาที่ใกล้ช่วงไข่สุก เยื่อบุนี้จะหนาตัวขึ้นโดยอัตโนมัติเพื่อรอการปฏิสนธิ และเมื่อไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นในช่วงเดือนนั้น เยื่อบุนี้ก็จะลอกหลุดออกมาพร้อมกับเลือดกลายเป็นประจำเดือนนั่นเอง การเกิดมะเร็งรังไข่ นั่นจะมีอาการปวดประจำเดือนหลังคลอดลูก หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเกิดขึ้นผิดตำแหน่ง ถ้าหากมีอาการต้องรีบเข้ารักษาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะจะทำให้เกิดมะเร็งรังไข่ เซลล์มะเร็งจะแพร่กระจายเร็วมาก ช่วงแรกๆ มักไม่ค่อยมีอาการอะไรให้เห็น ทำให้หลายๆ เคสมาตรวจเจออีกทีก็ลามไปถึงปอดกันแล้ว จะมีอาการปวดท้องน้อยรุนแรง มีหรือไม่มีประจำเดือนก็ตาม

มะเร็ง

ใครคือกลุ่มเสี่ยงที่จะเป้นมะเร็งรังไข่ ?

ผู้หญิงช่วงอายุที่จะเจอมะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุกันมากก็คือมากกว่า 50-60 ปี แต่ถ้าเป็นมะเร็งรังไข่ทั่วไปก็มีโอกาสเจอในเด็กที่อายุน้อยกว่า 20 ปีด้วยเช่นกัน เรื่องของกรรมพันธุ์ก็มีส่วนมากถึง 20% และเจอในผู้หญิงที่มีการตกไข่อย่างต่อเนื่องมากกว่าคนที่มีการตั้งครรภ์

อาการ และระยะมะเร็งรังไข่

ในระยะที่ 1 มะเร็งจะอยู่เฉพาะในรังไข่ จึงสามารถทำการรักษาด้วยการผ่าตัดได้ แต่อย่างที่บอกว่าโรคนี้มักไม่ค่อยตรวจเจอในระยะแรก เรียกว่าน้อยกว่า 70% ของมะเร็งรังไข่จะตรวจเจอเมื่อเชื้อมะเร็งเข้าสู่ระยะที่ 3 หรือ 4 ไปแล้ว ซึ่งในระยะที่ 3 จะเป็นระยะที่เซลล์มะเร็งกระจายเข้าไปในเยื่อบุช่องท้องแล้ว เข้าไปสร้างสารน้ำต่างๆ ที่ทำให้ท้องขยายอย่างรวดเร็ว จะมีอาการตึง แข็ง ส่วนในระยะที่ 4 เซลล์มะเร็งจะกระจายไปที่ปอดซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 4,000 คนต่อปี และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วย

วิธีการรักษามะเร็งรังไข่

มะเร็งมักจะเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดก็คือการป้องกันหรือยับยั้งการเกิดโรค เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่ที่พบความผิดปกติ เช่น ปวดประจำเดือนรุนแรง หรือคนที่เป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูก ควรที่จะรีบไปพบแพทย์เพื่อจะได้รักษาได้ทันเวลาโดยการตรวจมะเร็งรังไข่ แพทย์จะตรวจวัดค่าสาร CA125 ซึ่งเป็นสารที่ผลิตออกมาจากเยื่อบุอวัยวะในร่างกายเรา เช่น ตับอ่อน รวมถึงที่รังไข่ด้วย โดยค่าปกติจะอยู่ที่ 0-35 ยูนิตต่อมิลลิลิตร แต่ก็อาจจะมีค่าปกติที่สูงกว่านี้ที่ไม่ได้เป็นมะเร็งได้เช่นกัน ในกรณีเป็นมะเร็งรังไข่ในระยะที่ 1 บางทีอาจจะไม่แสดงอาการ ซึ่งหมอจะตรวจสาร CA125 เพื่อช่วยวางแผนในการผ่าตัดเผื่อในกรณีสงสัยเป็นมะเร็งไว้ด้วย เพราะลักษณะการผ่าตัดจะแตกต่างกัน

วิธีง่ายๆ ที่เราจะป้องกันตัวเองได้ก็คือ 

  1. ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที
  2. รับประทานผัก และผลไม้ให้ได้ทุกมื้ออาหาร
  3. ตรวจสุขภาพอยู่ตลอด ตรวจสุขภาพปย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง
  4. ลดอาหารพวกไขมันจากสัตว์ได้บ้างก็ดี เพราะการที่เรากินไขมันจากเนื้อสัตว์มากๆ ก็จะเป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งรังไข่ได้เช่นกัน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลพญาไท

 

Related Posts

เช็คด่วน!! ตัวเองหรือคนรอบข้างเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?

โรคซึมเศร้า ซึ่งอาจจะเกิดขึ…

เช็คด่วน!! ตัวเองหรือคนรอบข้างเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?

โรคซึมเศร้า ซึ่งอาจจะเกิดขึ…

อาการมือเท้าชา ไม่ควรละเลยปล่อยเอาไว้อาการเรื้อรังหรือไม่ ?

เคยเป็นกันไหมคะ อาการชาตามม…

ไม่น่าเชื่อ!! เม็ดบัว สามารถป้องกันการเป็นโรคหัวใจได้

ใครที่ชอบกินเม็ดบัว ยกมือขึ…

ข้อเข่าเสื่อม

เสียงก๊อกแก๊กที่หัวเข่า เป็นสัญญาณเตือนข้อเข่าเสื่อมหรือไม่ ?

สวัสดีค่ะ เชื่อว่าหลาย ๆ คน…

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจากอะไร?

เชื่อว่าสาว ๆ หลายท่านคงเคย…