เสียงก๊อกแก๊กที่หัวเข่า เป็นสัญญาณเตือนข้อเข่าเสื่อมหรือไม่ ?

ข้อเข่าเสื่อม

สวัสดีค่ะ เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเป็นกันแน่ๆ กับอาการเสียงดังเสียงก๊อกแก๊กที่หัวเข่า ไม่ว่าจะนั่ง จะลุก หรือกำลังเดินมักจะมีเสียงก๊อกแก๊กอยู่ตลอด นี้อาจจะเป็นสัญญาณเตือนในเรื่องข้อเข่าเสื่อมหรือไม่?ไปดูบทความด้านล่างกันเลยค่ะ

หัวเข่าดัง

 อาการของการปวดข้อเข่ามีอาการอย่างไร?

  1. แบบไม่มีอาการปวดร่วมด้วย
    รู้สึกข้อเข่าไม่มั่นคง บางครั้งอาจทำให้เสียวเข่าได้ พบเฉพาะเวลางอเข่ามากๆ เป็นเวลานานๆ เช่นการนั่งยองๆ หรือลุกจากเก้าอี้เตี้ย เสียงดังในลักษณะนี้เกิดจากการขบกันของผิวกระดูกอ่อนหรือเนื้อเยื่อ เส้นเอ็นในข้อเข่า โดยทั่วไปแล้วมักจะไม่เป็นปัญหาใด ๆ
  2. แบบอาการปวดร่วมด้วย
    อาจเกิดจากความผิดปกติบริเวณหัวเข่า เช่น ข้อเข่าเสื่อมจากกระดูกอ่อนผิวข้อมีการสึกกร่อนจนพื้นผิวข้อขรุขระ หรือมีนำหล่อเลี้ยงภายในข้อเข่าน้อย ส่งผลให้เกิดการแทกระหว่างผิว ย่อมทำให้เกิดเสียงได้มากขึ้น หรือมีหมอนรองกระดูกฉีกขาดเนื่องจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ก็อาจทำให้เกิดเสียงดังเมื่อมีการขยับข้อเข่าได้เช่นกัน

อาการปวดเข่าที่เข้าข่าย ข้อเข่าเสื่อม มีอย่างไรบ้างมาเช็คดูกัน

หัวเข่า

  1.  รู้สึกปวดเข่า โดยเฉพาะเวลางอเข่าหรือเมื่ออากาศเย็นๆ
  2.  รู้สึกปวดเข่า เวลาขึ้นลงบันได วิ่ง หรือ กระโดด
  3. ได้ยินเสียงก๊อกแก๊กเวลางอเหยียดเข่า
  4.  รู้สึกปวดเข่ามากขึ้นเมื่อนั่งพับเพียบ นั่งยองๆ หรือนั่งในท่าที่เข่างอมากๆ
  5.  รู้สึกปวดเข่า และปวดเสียวมากขึ้นเมื่อต้องลงน้ำหนัก หรือยืนด้วยขาข้างเดียว
  6.  ไม่ค่อยมีแรง ทรงตัวไม่ค่อยได้ ขาโก่งมากขึ้น

สาเหตุหลักที่ทำให้มีอาการปวดเข่า ลุกก็ดังก๊อกแก๊ก ยืนก็ดังก๊อกแก๊ก

• ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมเป็นจํานวนมาก

• การออกกำลังกายที่มีการกระแทกข้อซ้ำๆ ต่อเนื่องยาวนาน

• มีน้ำหนักตัวมาก

• ใช้ยาสเตียรอยด์ต่อเนื่อง

นอกจากนี้ต้นเหตุของอาการปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อมโดยธรรมชาติจะพบในวัยสูงอายุ หรืออายุที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับมวลกระดูกมีความแข็งแรงลดลง เช่น ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

รักษาอาการปวดเข่าทีมีเสียง นั้นได้อย่างไร ?

ในการรักษาข้อเข่าเสื่อมนั้นจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ ในกรณีที่เกิดเสียงดังที่เกิดจากข้อเข่าเสื่อม การรักษาในระยะแรกอาจใช้วิธีการบริหารหัวเข่า แต่ถ้าอาการยังไม่มากอาจเริ่มจากการบริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า และกล้ามเนื้อสะโพก รวมถึงหลีกเลี่ยงการงอเข่ามาก ๆ เมื่อกล้ามเนื้อทั้ง 2 ส่วนนี้แข็งแรงแล้วจะช่วยทำให้ลูกสะบ้าเอียงน้อยลง ช่วยลดแรงกระแทก นอกจากนี้ควรใช้งานข้อเข่าอย่างถูกวิธี รับประทานยาบำรุงข้อ ใช้ที่พยุงข้อ ฉีดยา ฉีดน้ำเลี้ยงข้อเทียม หรือวิธีการผ่าตัด แต่หากเป็นหมอนรองกระดูกฉีกขาดอาจใช้วิธีบริหารข้อเข่า ฉีดยา หรือถ้าเป็นมากอาจต้องผ่าตัดส่องกล้อง ทั้งนี้วิธีแก้ไขรักษาดังที่กล่าวมาจำเป็นต้องทำร่วมกับการลดน้ำหนักตัว เพราะน้ำหนักตัวมีผลต่อแรงกระแทกบริเวณข้อเข่า หากเรามีน้ำหนักตัวที่พอดี ก็จะช่วยลดแรงกระแทกภายในข้อเข่าลงไปได้ และหลีกเลี่ยงการยืน เดินนานๆ เพราะจะทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักตัวตลอดเวลา และเพิ่มอาการบาดเจ็บมากขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลเปาโล